Thursday, February 22, 2007


ข้อเสนอต่อรัฐบาลว่าด้วย การอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
สหพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้
รัฐบาลใหม่ มีมาตรการที่จะนำไปสู่ การกู้ และฟื้นฟูทะเล อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ของชาวประมงพื้นบ้าน และความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรทะเล ทั้งระบบ ดังต่อไปนี้ ให้รัฐบาล เร่งรัดดำเนินการจัดทำแนวเขตป่าชายเลน บ้านป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รวมทั้ง ยับยั้งลงนามประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการกำหนดเขต การทำประมงปลากะตัก โดยใช้แสงไฟล่อ ซึ่งรอรัฐมนตรีว่าการฯ ลงนาม และให้กลับไปใช้ประกาศกระทรวงเกษตรฯ ให้ยุติการจับกุมชาวประมง ที่ไม่ได้กระทำผิดตาม พรบ. การประมง พ.ศ. 2490 ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล
1. ยุติการทำประมงแบบทำลายล้าง
รัฐบาลยืนยัน การยกเลิกการใช้เครื่องมือประมง อวนรุน ทำการประมง ภายในเดือนกันยายน 2544 ตามที่กำหนดไว้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และให้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห้ามทำการประมง โดยอวนรุนประกอบเครื่องยนต์ ในประเทศไทย
โดยให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด 13 จังหวัด ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อกำหนดเขตการใช้เครื่องมือประมงในทะเล การทำประมงในเขตอนุรักษ์ สัตว์น้ำคุ้มครอง และฤดูวางไข่ปลา ในแต่ละเขต แผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล และชายฝั่ง รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการอ่าว ในกรณีที่มีชายฝั่งทะเลที่มีความต่อเนื่อง
ให้มีการแต่งตั้ง ราษฎรอาสาสมัครทางทะเล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ดูแลแนวเขต ตามข้อเสนอของชุมชน
ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ในการปฎิบัติงาน
2. ปฏิรูปนโยบายการประมง และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
ให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่าง สมัชชาคนจน นักวิชาการ หน่วยราชการ โดยมีรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ทบทวนนโยบายการประมง ของคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และนโยบายประมงในแผนฯ 9 โดยสัดส่วนของ กรรมการฝ่ายสมัชชาคนจน และนักวิชาการ เป็นครึ่งหนึ่งของฝ่ายรัฐ
ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณการทำงาน ของคณะกรรมการ
ให้รัฐบาล ยุติสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน หลังสิ้นอายุสัมปทาน และสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่ประสงค์จะดูป่าในรูปป่าชุมชน
4. ทบทวนแผนการพัฒนาทะเลสาบสงขลา และแผนการพัฒนา พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ให้รัฐยกเลิกมติ ครม. 3 มีนาคม 2530 เรื่องเกี่ยวกับ โครงสร้างคันกั้นน้ำเค็ม ในทะเลสาบสงขลา รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อทบทวน แผนการพัฒนาทะเลสาบสงขลา และแผนการพัฒนา พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และสนับสนุนงบประมาณฯ
5. ทบทวนและปรับปรุง การประกาศแนวอุทยานแห่งชาติ ทางทะเล ที่ทับที่ทำกิน ชาวประมงพื้นบ้าน
รัฐจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่างสมัชชาคนจน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล และสนับสนุนงบประมาณฯ
6. ให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการร่วมสมัชชาคนจนและรัฐบาล เพื่อติดตาม และควบคุมการดำเนินการ ตั้งแต่ข้อ 1-5

Monday, February 12, 2007

พ.ร.บจัดระเบียบกิจการแพปลาพ.ศ.2496

  1. มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า "องค์การ สะพานปลา" มีวัตถุประสงค์ ดั่งต่อไปนี้
  2. (1) จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
  3. (2) จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการ แพปลา การขนส่ง และกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
  4. (3) จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
  5. (4) จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
  6. เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ให้องค์การ สะพานปลามีอำนาจรวม
  7. (1) สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่าง ๆ
  8. (2) กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ
  9. มาตรา 6 ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล
  10. มาตรา 7 ให้องค์การสะพานปลาตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร
  11. มาตรา 8 องค์การสะพานปลาเห็นสมควรจัดตั้งสะพานปลาขึ้น สำหรับท้องที่ใด เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว ก็ให้ประกาศตั้งขึ้นได้ การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้สะพานปลาอยู่ในความดูแลและดำเนินการขององค์การสะพานปลา
  12. มาตรา 9 ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน และหนี้สิน รวมทั้งบรรดา ข้อสัญญาและภาระผูกพันทั้งสิ้น อันเกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดตั้งแพปลา ของกรมการประมงโดยงบประมาณแผ่นดิน ให้แก่องค์การสะพานปลา
  13. มาตรา 10 ให้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2496 ของกรมการประมงที่เกี่ยวกับ การดำเนินการจัดตั้งแพปลา ให้แก่องค์การสะพานปลา
  14. มาตรา 11 ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคน ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการ องค์การสะพานปลา
  15. มาตรา 12 ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มี สัญชาติไทย
  16. มาตรา 13 ผู้มีลักษณะดั่งต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธาน กรรมการหรือกรรมการ คือ
  17. (1) เป็นพนักงาน หรือ
  18. (2) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การสะพานปลา หรือในกิจการ ที่กระทำให้แก่องค์การสะพานปลา ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม มาตรา 14 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและ ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ ให้รวมถึง
  19. (1) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่าง ๆ ตามความใน มาตรา 5
  20. (2) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของ คณะกรรมการ
  21. (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง และการถอดถอน พนักงาน
  22. (4) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลา และข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน
  23. (5) กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน
  24. มาตรา 15 ให้ประธานกรรมการและกรรมการอยู่ในตำแหน่ง มีกำหนดสองปี แต่อาจรับแต่งตั้งใหม่ได้
  25. มาตรา 16 ประธานกรรมการ และกรรมการ ย่อมพ้นจาก ตำแหน่งก่อนถึงวาระ เมื่อ
  26. (1) ตาย
  27. (2) ลาออก
  28. (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
  29. (4) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ ให้มีการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ หรือกรรมการเข้าแทนได้ แล้วแต่กรณี ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าแทนนี้ ย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
  30. มาตรา 17 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการ ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุมได้ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการเลือกตั้ง กันขึ้นเองเป็นประธานชั่วคราว
  31. มาตรา 18 การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาในคณะกรรมการ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้ามีเสียงเท่ากัน ให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  32. มาตรา 19 ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจเรียกเก็บเงิน ค่าบริการจากผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ไม่เกินร้อยละสามของราคาสินค้า สัตว์น้ำที่ซื้อขายกันที่สะพานปลาหรือราคาที่พนักงานประเมินราคาตลาด ในวันนั้น
  33. มาตรา 20 ให้แบ่งเงินค่าบริการที่องค์การสะพานปลา เรียกเก็บตามความใน มาตรา 19 ไว้ร้อยละยี่สิบห้าของค่าบริการ ที่เก็บได้ทั้งหมด เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมการประมงตามความใน มาตรา 5 (3) และ (4) การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินค่าบริการที่แบ่งไว้ใน วรรคก่อน ให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  34. มาตรา 21 ให้องค์การสะพานปลาจัดทำงบประมาณประจำปี แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ ให้องค์การสะพานปลาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตาม ระเบียบของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
  35. มาตรา 22 รายได้ที่องค์การสะพานปลาได้รับในปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานในองค์การสะพานปลา เงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองขยายงานและเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แล้ว เหลือเท่าใด ให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าว นอกจาก เงินสำรองที่ได้ระบุไว้ในวรรคก่อน และองค์การสะพานปลาไม่สามารถ หาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่องค์การสะพานปลาเท่าจำนวนที่ จำเป็น
  36. มาตรา 23 ทุกปี ให้คณะกรรมการตั้งผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือ หลายคนเพื่อสอบและรับรองบัญชีเป็นปี ๆ ไป แล้วนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อ เสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรีพร้อมด้วยรายงานกิจการประจำปี ซึ่งให้กล่าว ถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วและให้มีคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า ห้ามมิให้ตั้งประธานกรรมการ กรรมการ หรือพนักงานเป็น ผู้สอบบัญชี เมื่อรัฐมนตรีร้องขอ ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็น ผู้ตรวจบัญชีขององค์การสะพานปลา
  37. มาตรา 24 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แทนองค์การสะพานปลา ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แต่คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้อำนวยการ หรือพนักงานอื่นใดขององค์การสะพานปลาเป็นผู้แทนก็ได้
  38. มาตรา 25 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน ผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
  39. มาตรา 26 ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การ สะพานปลาตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดหรือ มอบหมาย
  40. มาตรา 27 ประธานกรรมการ และกรรมการย่อมได้รับ ประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  41. มาตรา 28 ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และ พนักงานอาจได้รับเงินรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

Friday, February 9, 2007

ระเบียบกรมประมง
ว่าด้วยการยื่นคำขอและการออกหนังสือรับรองการส่งกุ้งกุลาดำมีชีวิต
ออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2547
_______________

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 41)
พ.ศ.2530 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ได้กำหนดให้การส่งกุ้งกุลาดำมีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักรใน บางกรณีต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมงสำหรับใช้ประกอบการดำเนินการส่งออกด้วย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการออกหนังสือรับรองเพื่อการดังกล่าวได้กำหนดไว้ในระเบียบกรมประมงว่าด้วยการส่งกุ้งกุลาดำมีชีวิตออกไป
นอกราชอาณาจักร พ.ศ.2538 ซึ่งกรมประมงเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2545 กรมประมงจึงออกระเบียบกำหนดวิธีปฏิบัติราชการในการยื่นขอและการออกหนังสือรับรองการส่ง

Thursday, February 8, 2007

สัตว์น้ำคุ้มครอง

  1. ชื่อพื้นเมือง ปลาหมูอารีย์
    ชื่อสามัญ Hog fish, Sping loach
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia sidthimunki klausewitz

    ปลาหมูอารีย์ Botia sidthimunki Klausewitz ได้ถูกรายงานและตั้งชื่อโดย Dr. Von.W. klausewitz ในปี พ.ศ. 2502 โดยตั้งชื่อชนิด (species) เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายอารีย์ สิทธิมังค์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบตัวอย่างปลาชนิดนี้ พบว่าปลาหมูที่มีลักษณะรูปร่างและสีที่แตกต่างจากปลาหมูชนิดอื่นๆ (ในเมืองไทยพบ 7-8 ชนิด : เสน่ห์ ; (2521) โดยปลาหมูอารีย์จะมีสีสรรสดใส ลักษณะแปลกตา มีลายเส้นดำเหลืองตัดกันมักแสดงตัวได้ดีกว่าปลาหมูชนิดอื่น เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ จึงถูกจับเพื่อจำหน่ายส่งออกไปต่างประเทศ ปีละมากๆ ในปัจจุบัน ตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์จึงถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อ “สัตว์น้ำคุ้มครอง”
    ในปัจจุบันนี้สัณนิฐานว่าในประเทศไทยมีปลาชนิดนี้หลงเหลืออยู่แต่ในเฉพาะบริเวณแม่น้ำว้า อ.แม่จริม จ.น่าน เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในแม่น้ำว้าเองก็พบว่ายังมีการลักลอบจับปลาหมูอารีย์เพื่อจำหน่ายส่งเป็นปลาสวยงามอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะว่าราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง (10-30 บาท/ตัว) และยากต่อการปราบปรามจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าและภูเขาสูง กรมประมง ซึ่งได้รับมอบหมายให้อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่หายากของไทยตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ในความสำคัญที่จะศึกษาและจะอนุรักษ์พันธุ์ปลาหมูอารีย์ไว้ตลอดจนมีนโยบายที่จะเพาะขยายพันธุ์ปลาหมูอารีย์ เพื่อเลี้ยงให้เป็นปลาสวยงามทางเศรษฐกิจ จึงได้มอบหมายให้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว
    ชีววิทยาบางประการของปลาหมูอารีย์ เกียรติคุณ (2540)

    ปลาหมูอารีย์ มีรูปร่างยาวและแบนข้าง มีสีสันสดใสมาก โดยมีสีเหลืองมะปรางสุกบริเวณส่วนหัว แนวกลางของส่วนหลังและลำตัว ส่วนท้องมีสีขาวออกงาช้าง บริเวณหัวมีสีน้ำตาลดำ 2 แถบขนานกันไปตามบริเวณแถบสีเหลืองบริเวณหลังแถบนี้ไปสิ้นสุดที่บริเวณคอดหาง และยังมีแถบสีน้ำตาลดำที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ส่วนปากผ่านแนวลูกตาตามเส้นข้างลำตัวไปจนถึงจุดเริ่มต้นของครีบหาง
    ในธรรมชาติอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ หาดน้ำตื้น ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว น้ำมีคุณภาพดี มีออกซิเจนที่ละลายในน้ำสูงประมาณ 8.1 – 9.8 มิลลิกรัมต่อลิตร พื้นท้องน้ำมีพืชน้ำจำพวกตะไคร่น้ำ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารธรรมชาติ ปลาหมูอารีย์จัดเป็นปลาประเภทกินเนื้อ โดยกินหนอน ไรน้ำ หนอนหลอดน้ำ แมลงต่างๆ

    การเพาะพันธุ์และการอนุบาลปลาหมูอารีย์

    สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน โดยนายวิวัฒน์ ปรารมภ์ หัวหน้าสถานี ฯ ประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเริมฤทธิ์ในอัตรา 15 ไมโครกรัม + 10 มิลลิกรัม ให้แก่แม่ปลา 3 ตัว สามารถกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ได้ในระยะเวลา 10 – 12 ชั่วโมง ต่อมาในปี 2544 ได้ทดลองใช้พ่อแม่พันธุ์ปลาที่เลี้ยงไว้จากการเพาะพันธุ์ผสมเทียม เมื่อปี 2542 มาทำการทดลองเพาะพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ domperidone 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอัตราความเข้มข้นที่ต่างกันคือ 10 , 20 และ 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสามารถกระตุ้นให้แม่ปลาทุกชุดการทดลองตกไข่ได้
    ไข่ปลาหมูอารีย์เป็นแบบครึ่งจมครึ่งลอย มีลักษณะกลม สีเหลือง มีขนาดเล็กเพียง 0.37- 0.46 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวประมาณ 12- 13 ชั่วโมง ลูกปลาอายุ 3 วันเริ่มกินอาหารโดยให้โรติเฟอร์ให้เป็นอาหารลูกปลาในระยะเริ่มแรก หลังจากนั้น 1 อาทิตย์ให้ไรแดงเป็นอาหาร อนุบาลในตู้กระจกประมาณ 3 อาทิตย์ ก็นำปลาหมูอารย์ไปเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์โดยให้ไรแดงเป็นอาหารตลอดการเลี้ยง

Wednesday, February 7, 2007

สถิติการประมง


  1. 1สถิติการประมง (Fishery statistics)
    การประมงหมายถึง กิจกรรมการจับสัตว์น้ำทั้งในมหาสมุทร ชายฝั่งทะเลหรือในแหล่งน้ำจืด การล่าสัตว์น้ำ การเก็บข องที่อยู่ในทะเล การปลูกสาหร่าย การเลี้ยงและการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆ รวมถึงกิจกรรมบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมง

    1.1การสนับสนุนของภาคการประมงที่มีต่อเศรษฐกิจ (The economic contribution of fishery) เป็นข้อมูล ที่แสดงภาพรวมของการประมงที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น มูลค่าเพิ่มรวมของภาคการประมง (Gross value added of fishery sector) จำนวนแรงงานภาคการประมง จำนวนสถานประกอบการที่ทำการจับสัตว์น้ำและแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และผลการด ำเนินงานของกิจกรรมการประมง

    1.2การจับสัตว์น้ำ (Fish catching) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน และมูลค่าสัตว์น้ำที่จับไ ด้โดยยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป รวมถึงวิธีการจับสัตว์น้ำ
    1.3 การแปรรูปสัตว์น้ำ (Fish processing) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน และมูลค่าของผ ลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปทั้งที่เป็นสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) และเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (Final consumption products) ที่พร้อมจำหน่ายแก่ผู้บริโภค
    1.4 การค้าสินค้าประมง (Fisheries products trade)

    1.4.1
    การค้าสินค้าประมงภายในประเทศ (Domestic trade in fisheries products) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวก ับมูลค่า/ปริมาณการซื้อขาย ราคาซื้อขาย ดัชนีราคาสินค้า เป็นต้น

    1.4.2
    การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ (International trade in fisheries products)

    การนำเข้า (Import) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน และมูลค่าการนำเข้าสิน ค้าประมงทั้งท ี่แปรรูปและไม่แปรรูปที่มีการนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ

    การส่งออก (export) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน และมูลค่าการส่งออกสินค้า ประมงทั้งที่แปรรูปและไม่แปรรูปที่มีการส่งออกสู่ประเทศต่างๆ
    1.5 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture) ประกอบด้วยข้อมูลของหน่วยที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น พื้นที่ที่ทำการเ พาะเลี้ยง จำนวนบ่อเลี้ยง วิธีการเพาะเลี้ยง ปริมาณและราคาของสัตว์น้ำแต่ละชนิด รวมถึงสภาพแวดล้อมในการเลี้ยง
    1.6 สถิติเรือประมง (Fleet statistics) ประกอบด้วยจำนวนเรือประมงที่ใช้ในการจับและแปรรูปสัตว์น้ำ ขนาดและชนิดของเรือประมง
    1.7 ทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อม (Fisheries resources and environment) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ ปริมาณและชนิดของสัตว์น้ำและ อัตราการทดแทนของสัตว์น้ำที่เกิดจากการจัดการด้านการ ประมงและปัจจัยธรรมชาติที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
    1.8
    สถิติการประมง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (Fishery statistics n.e.c.)

ความเป็นมาของกรมประมง


ตามพระราชบัญญัติในเรื่องของสัตว์น้ำและเครื่องมือทำการประมง ในอดีตยังไม่มีการรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ค่อนข้างกระจัดกระจายของตัวบทกฎหมายในลักษณะต่างๆ ข้อความยังไม่ชัดเจน ใน ร.ศ. 120 ( ปี พ.ศ.2444 ) ได้โปรดให้มีการรวบรวมพระราชบัญญัติเหล่านี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการทางด้านการประมงของไทยจึงเริ่มจัดการบริหารจัดการทางการประมงขึ้น ในปี พ.ศ. 2444 โดยให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้สั่งการให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีค่าน้ำ ในปี 2457 และได้สั่งการให้มีการจัดและบริหารทางด้านการประมง เพื่อการมุ่งประโยชน์ 3 ประการ คือ 1. การสร้างผลผลิตอาหารสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพียงพอแก่ประชาชนในประเทศ 2. การสร้างผลผลิตสัตว์น้ำให้เป็นรายได้ของประเทศ 3. การเก็บภาษีอากรสัตว์น้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วการบริหารจัดการทางด้านประมงเน้นทางด้านการเก็บภาษีเพียงอย่างเดียวในขณะนั้นเพราะว่าในช่วงนี้ยังขาดผู้มีความรู้ทางด้านการประมง จึงได้หาผู้มีความรู้ทางด้านนี้เข้ามาช่วยดูแลซึ่งได้แก่ ม.ร.ว.สุพรรณ สนิทวงศ์ โดยท่านเล็งเห็นว่าสัตว์ที่ท่านได้สำรวจในพื้นที่ของเขตพื้นที่ทำนาในอำเภอรังสิตเดิมมีปลาชุกชุมมาก แต่เมื่อมีการจับอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปลามีจำนวนลดลงและมีขนาดเล็ก ท่านจึงตระหนักว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ปลาจะสูญพันธุ์ ท่านจึงได้นำความมาปรึกษาท่านเจ้าพระยาพลเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐบาล (ในสมัยรัชกาลที่ 6) ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นก็เห็นด้วย จึงจัดให้มีการจัดการทางด้านการประมงขึ้น
เมื่อได้จัดแบ่งหน้าที่กันเรียบร้อยร้อยแล้ว (เฉลิม โกมาลากุล ณ นคร) ได้จัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์ปลาหรือหน่วยงานบำรุงและรักษาสัตว์น้ำ ขึ้นในปี 2464 โดยให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงเกษตราธิการ และพระยาเมธีธิบดีได้เสนอ กระทรวง เกษตราธิการว่าจะทาบทาม Dr Hugh M. smith, MD.,LL.D ผู้เคยเป็น Commissioner of fisheries U.S.A ให้เข้ามาเป็น Adviser in fisheries to His Siamese Majesty's Govermment ในปี 2466 โดยจัดสำนักงานให้ที่วังสุริยง (นางเลิ้ง) งานขั้นแรกที่ต้องทำคือการสำรวจว่าสัตว์น้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยมีมากน้อยเท่าใด เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์ การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งผลในการสำรวจจะจำแนกในทางชีววิทยา โดยมีภาพประกอบและจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยการสำรวจในน่านน้ำจืด และในน่านน้ำทะเล ทั่วราชอาณาจักรไทย และจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งบังได้เขียนหนังสือที่กล่าวถึงทรัพยากรในประเทศไทยซึ่งรู้จักในนามของหนังสือ " อนุกรมวิธาน " และยังเขียนบทวิจารณ์ถึงทรัพยากรของประเทศไทยพร้อมทั้งให้คำอธิบายและรายละเอียดและข้อแนะนำในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย โดยเขียนหนังสือที่ชื่อ A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam,with Plans and Recommendation for the Administration,Conservation and Development เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการและได้นำเสนอทูลเกล้าฯและอนุมัติให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากนั้นก็มีการบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ สมเด็จพระราชบิดามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนให้กระทรวงเกษตราธิการจัดส่งข้าราชการหรือนักเรียน จำนวน 2 ทุนเพื่อให้ไปศึกษาเล่าเรียนทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดระยะเวลา 6 ปี เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำความในโครงการเพาะพันธุ์ปลาขึ้นกราบบังคมทูลพร้อมทั้งนำพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร (สมเด็จพระ มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ในเรื่องที่ประทานพรกรุณาอุดหนุนการศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลา ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้กระทรวงเกษตราธิการ รับฉลองพระเดชพระคุณตามประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร กระทรวงเกษตราธิการ จึงประกาศคัดเลือกบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกทุนในการไปศึกษาทางด้านการประมง ในชุดแรกเพื่อศึกษา ณ. ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ปี 2469 มีผู้รับทุนในครั้งแรก 2 ทุนคือหลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) และ นายบุญ อินทรัมพรรย์ ในนามของทุน " มหิดล" แต่ทุนยังเหลืออยู่จึงเปิดคัดเลือกเพิ่มอีก และผู้ที่สอบคัดเลือกผ่านคือ นายโชติ สุวัตถิ และต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ สำหรับที่ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำก็ยังคงต้องอยู่ ณ ที่เดิม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2471 หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) นักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้สำเร็จการศึกษามา กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ
ต่อมาก็ได้มีพระบรมโองการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อรัฐบาลได้ประกาศตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำ และในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ ต่อมา หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) ได้สำเร็จการศึกษาและดูงานเสร็จได้เดินทางกลับมากระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ ส่วนนายบุญ อินทรัมพรรย์ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม ได้สำเร็จการศึกษาและเสร็จสิ้นการดูงาน ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมชั้น 2 กรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อเจ้าพระยาพลเทพได้กราบบังคมลาออก จากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการสืบต่อไป ส่วนราชการกระทรวงเกษตราธิการเมื่อ พ.ศ.2473 ได้แบ่งออกเป็น 10 กรม และยังคงมีกรมรักษาสัตว์น้ำรวมอยู่ด้วย ในปี พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นเจ้ากรมรักษา สัตว์น้ำ และย้ายกรมรักษาสัตว์น้ำจากวังสุริยา (นางเลิ้ง) ไปตั้งอยู่ในอาคารที่เคยเป็นกรมเพาะปลูก บริเวณกระทรวงเกษตราธิการ ปี พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ แบ่งส่วนราชการเป็น 13 กรม มีกรมประมงรวมอยู่ด้วย ในปี พ.ศ.2477 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นอธิบดีกรมการประมง ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม แยกกระทรวงเกษตราธิการเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหากจากกระทรวงเศรษฐการ ในปี พ.ศ. 2487 นายจุล วัจนคุปต์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง เพื่อไปเป็นผู้จัดการบริษัท ประมงไทย จำกัด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายบุญ อินทรัมพรรย์ ข้าราชการชั้นพิเศษ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ในปี พ.ศ. 2896 กรมการประมงได้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยได้เพิ่มกองคุ้มครองขึ้นอีก 1 กอง ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2496 กระทรวงเกษตรได้เปลี่ยนนามกรมต่างๆ คือ กรมกสิกรรม กรมประมง กรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ.2500 กรมประมงได้ย้ายที่ตั้งจากที่ทำการเดิมในขณะนั้น คือตึกกระทรวงศึกษาธิการเดิม ไปตั้งรวมอยู่กับกระทรวงเกษตร ณ ถนนราชดำเนิน จากการประเมินผลของการพัฒนาการประมงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติทำให้ทราบว่า ยังเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การพัฒนาการประมงไม่อาจบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนและการช่วยเหลือ โครงการพัฒนาการประมงให้สามารถดำเนิน ได้อย่างราบรื่นและ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ตราพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมประมงขึ้นใหม่ อันเป็นผลให้กรมประมงต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบกว้างขวางมายิ่งขึ้น กล่าวคือได้รัยมอบหมาย ให้มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การรวบรวมข้อมูล สถิติ ความรู้เกี่ยวกับการประมง การอนุรักษ์ชลสมบัติ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์การประมง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ รวมทั้งการสำรวจแหล่งประมง ตลอดจนการส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ งานอาชีพการประมงอื่นๆ และการควบคุมกิจการประมงให้เป็นไปตามกฏหมายและ สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Monday, February 5, 2007

การทำการประมง

การทำการประมง
4.1 คำนิยามที่ควรรู้จาก พรบ.การประมง พ.ศ.2490 คำนิยามด้านการทำประมงที่ควรรู้ มีดังนี้ “สัตว์น้ำ หมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือวงจรส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้รวมซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ” “ทำการประมง หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่า หรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีใดๆ “เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบอาวุธ เสา หลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง” “เรือ หมายความว่ายานพาหนะทางน้ำทุกชนิด“ “ที่จับสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขัง หรือ ไหล เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งป่าไม้และพื้นดิน ซึ่งท่วมในฤดูน้ำไม่ว่าจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์และภายในเขตน่านน้ำไทย หรือน่านน้ำอื่นใด ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่หรือมีสิทธิ์ที่จะใช้ต่อไปในการทำการประมง โดยที่น่านน้ำเหล่านั้น ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีขอบเขตตามกฎหมายท้องถิ่นหรือธรรมเนียมประเพณี หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด” “ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่บุคคลใดใช้ทำการประมงหรือทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต” “อาชญาบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประม “ผู้รับอนุญาต หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับประทานบัตร ใบอนุญาตอาชญาบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้” “เครื่องมือประจำที่ หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง” “เครื่องมือในพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อลักษณะหรือวิธีใช้ในกฎกระทรวง” “เครื่องมือนอกพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกั “สถิติการประมง หมายความว่า สถิติหรือข้อความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การทำการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” “น่านน้ำไทย หมายถึง บรรดาน่านน้ำซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศไทย” ประกอบด้วย • น่านน้ำภายใน (Internal Waters) • อ่าวประวัติศาสตร์ (Historic Bay) • ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) “น่านน้ำภายใน หมายถึง ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหลอยู่ในผืนแผ่นดินและรวมทั้งทะเลบริเวณนั้นจากฐานเส้นตรง ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง” “อ่าวประวัติศาสตร์ คือ อ่าวขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรัฐเดียว อีกทั้งรัฐนั้นได้ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ติดต่อกันมาช้านาน ว่าเป็นอาณาเขตของรัฐนั้นๆ โดยไม่มีรัฐอื่นใดคัดค้าน” “ทะเลอาณาเขต คือ ทะเลที่อยู่ถัดจากแผ่นดินของประเทศนั้น และจากน่านน้ำภายในออกไปไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล นับจากเส้นฐานตรง” “น่านน้ำอื่นใด หมายถึง น่านน้ำอื่นๆที่ไม่ใช่เขตน่านน้ำของไทย อาทิเช่น ไหล่ทวีป เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทะเลหลวง น่านน้ำตามสนธิสัญญา” “ไหล่ทวีป (Continental Shelf) คือ บริเวณใต้ทะเลรอบๆชายฝั่งต่างๆ ซึ่งจะมีความลาดเอียงทีละน้อยๆ นับแต่ภายนอกทะเลอาณาเขตออกไปจนถึงระดับน้ำลึก 200 เมตร” “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) หมายถึง บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต ของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง 200 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต” “ทะเลหลวง (High Sea) คือ ส่วนทั้งหมดของทะเลที่ไม่อยู่ในเขตทะเลอื่นใด ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ” “น่านน้ำตามสนธิสัญญา คือ น่านน้ำที่รัฐต่างๆได้ทำความตกลงให้เข้าทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้”
4.2 แหล่งทำการประมง (Fishing Ground)
การจำแนกแหล่งทำการประมง สามารถจำแนกได้ดังนี้ จำแนกตามลักษณะแหล่งน้ำ ดังนี้ 1. น้ำจืด • น้ำนิ่ง (Lentic water) ได้แก่ หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อ เป็นต้น • น้ำไหล (Lotic water) ได้แก่ แม่น้ำ คลอง เป็นต้น 2. น้ำเค็ม • ชายฝั่ง (Coastal) • ใกล้ฝั่ง (Inshore) • นอกฝั่ง (Offshore) • ทะเลลึก/ทะเลหลวง (Deep Sea/High Sea) จำแนกตามกลุ่มชาวประมง ดังนี้ 1. ประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก 2. ประมงพาณิชย์ • ในน่านน้ำไทย • นอกน่านน้ำไทย จำแนกตามชนิดสัตว์น้ำ ดังนี้ 1. ปลาผิวน้ำ (Pelagic Fish) 2. ปลาหน้าดิน (Demersal Fish)
ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งทำการประมง • ที่ตั้ง • สภาพอากาศของลมมรสุม • ความเค็มและออกซิเจน • การหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างลองติจูด 97 องศาตะวันออก และ 106 องศาตะวันออก และระหว่างแลตติจูด 5 องศาเหนือ และ 21 องศาเหนือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีด้านที่ติดทะเล 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน
แหล่งทำการประมงทะเลของประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ คือ 1) แหล่งประมงในน่านน้ำไทย - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย - แหล่งทำการประมงทางฝั่งอันดามัน 2) แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย
แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางฝั่งอ่าวไทย เป็นดังนี้ - พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร - ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด - มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร - สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย - เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด - แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้ •เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน) •เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย) •ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม •ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา •ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้ • ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท. • ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม. • ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม. - เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้ • เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระ • เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี • เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี • เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส • เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร
แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้ - พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร - เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย - แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ - ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย - เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ - มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร - ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง - มีแหล่งปะการังมาก - แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร - เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ • เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต • เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ • แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน • แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง • แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา • แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า • แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
4.3 เรือประมง
เรือประมง หมายถึง ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ครัวเรือนที่ทำประมงในรอบ 12 เดือน จำแนกดังนี้ - เรือไม่มีเครื่องยนต์ - เรือมีเครื่องยนต์นอกเรือ (เรือหางยาว) - เรือมีเครื่องยนต์ในเรือ (เรือวางท้อง)
ขนาดของเรือประมง หมายถึง ความยาวเรือประมง แต่ละลำซึ่งวัดจากหัวเรือไปจรดท้ายเรือจำแนกดังนี้ - ความยาวน้อยกว่า 14 เมตร - 14-18 เมตร - 19-25 เมตร - มากกว่า 25 เมตร
กำลังแรงม้า หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ซึ่งติดอยู่ในเรือ เป็นตัวชี้บอกประสิทธิภาพของเรือ
ระวางบรรทุกของเรือ (ตันกรอส) หมายถึง ความจุคิดเป็นตันของเนื้อที่ว่างภายในลำเรือทั้งหมด และห้องต่างๆที่อยู่บนดาดฟ้า ยกเว้น ห้องเครื่องจักร ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว และห้องบันได จำแนกขนาดเป็น - น้อยกว่า 5 ตันกรอส ? 20-29 ตันกรอส - 5-9 ตันกรอส ? 30-49 ตันกรอส - 10-14 ตันกรอส ? 50-99 ตันกรอส - 15-19 ตันกรอส ? ตั้งแต่ 100 ตันกรอส ขึ้นไป
4.3 เครื่องมือทำการประมง
เครื่องมือทำการประมง (Fishing Gears) คือ เครื่องมือที่ใช้จับหรือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรง และเครื่องมือช่วยทำการประมง (Auxillary Gears) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือช่วยให้การจับสัตว์น้ำสำเร็จลงได้ เช่น เรือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง เป็นต้น การจำแนกเครื่องมือทำการประมง สามารถแบ่งได้ดังนี้การจำแนกตามลักษณะการทำงาน (การทำประมง) คือ 1. เครื่องมือประเภทเคลื่อนที่ (Moveable fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ และห่างออกไปจากตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยแรงของกระแสลม กระแสน้ำ คน หรือเครื่องยนต์เรือ 2. เครื่องมือประเภทประจำที่ (Stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือและส่วนประกอบอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง และทำการจับสัตว์น้ำตรงจุดที่ตั้งเครื่องมือนั้นๆ ทุกครั้ง 3. เครื่องมือประเภทกึ่งประจำที่ (Semi-stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือนั้นจะถูกยึดถ่วงรั้งให้อยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจนสิ้นสุดการจับสัตว์น้ำแต่ละครั้งเสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ขึ้นเรือ เพื่อนำไปใช้ในบริเวณอื่นๆได้อีก จำแนกตามขนาดของธุรกิจ คือ 1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส 2. เครื่องมือประมงพาณิชย์ หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ประกอบกับเรือที่มีขยาดเกินกว่า 5 ตันกรอส การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ สามารถจำแนกได้เป็น 13 ประเภท คือ 1. ประเภทอวนล้อมจับ 8. ประเภทอวนรุน 2. ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก 9. ประเภทลอบ 3. ประเภทอวนลาก 10. ประเภทโป๊ะ 4. ประเภทคราด 11. ประเภทโพงพาง 5. ประเภทอวนช้อน อวนยก 12. ประเภทเบ็ด 6. ประเภทอวนครอบ 13. ประเภทเบ็ดเตล็ด 7. ประเภทอวนติด
ประเภทอวนล้อมจับ (Surrounding Nets) - อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลักการ คือ ใช้วิธีปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ ปิดด้านล่างของผืนอวน ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ ชนิด: อวนล้อมจับมีสายมาน และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน
ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก(Seine Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ปล่อยอวนกางกั้นสัตว์น้ำ แล้วทำการฉุด ลากปลายสุดของผืนอวนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเข้าหาฝั่งหรือเรือ หลักการ คือ ใช้วิธีล้อม และลากผสมกันในไทย เป็นแบบลากเข้าหาชายหาดด้วยแรงคนจับสัตว์น้ำ ที่เข้ามาในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณชายหาด ลึก 1-3 เมตร ปลากะตัก เคย ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาข้างเหลือง ชนิด:อวนทับตลิ่ง
ประเภทอวนลาก(Trawl Nets) หมายถึงเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เรือลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง หลักการ คือ จับสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณพื้นทะเลหรือเหนือพื้นทะเลชนิดสัตว์น้ำทั้งแบบอยู่รวมกัน เป็นฝูง/แพร่กระจายบริเวณกว้าง ชนิด:อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง อวนลากคู่ : อวนลากที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน ส่วนใหญ่จับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึก - อวนลากแผ่นตะเฆ่: อวนลากที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก: อวนลากแคระ/อวนลากกุ้ง ชนิดอวนที่ใช้: อวนลากปลา อวนลากกุ้ง อวนลากเคย อวนลากแมงกะพรุน - อวนลากคานถ่าง : อวนลากที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน ชนิดในประเทศไทย คือ • อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง/อวนลากข้าง/อวนลากแขก • อวนลากคานถ่างแบบลากแมงกะพรุน/อวนลากจอหนัง
ประเภทคราด (Dredges) หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะคล้ายตะแกรง ทำการประมงโดยวิธีขูด แซะ เพื่อจับสัตว์น้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน โดยใช้แรงคน/เครื่องยนต์ หลักการ คือ ส่วนใหญ่ใช้จับหอยชนิดที่ฝังตัวใต้พื้นโคลน/ทราย มีทั้งแบบใช้แรงคน และแบบใช้เรือลาก ชนิด: คราดหอยลาย คราดหอยแครง คราดหอยอื่นๆ เช่น คราดหอยเสียบ คราดหอยตลับ
ประเภทอวนช้อน/อวนยก (Lift Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ผืนอวนที่มีลักษณะและรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม/กลม จับสัตว์น้ำโดยการวางอวนทิ้งไว้ในแนวดิ่ง/แนวราบ และจะยกหรือดึงอวนขึ้นทันที่เมื่อต้องการจับสัตว์น้ำ หลักการ คือ ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น เหยื่อล่อ ซั้งล่อ แสงไฟล่อ ตัวอย่าง บาม ยอเคย จั่น/หยอง/ยอปู แร้วปู อวนช้อนปลากะตัก และไม่ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น สวิง ช้อนหมึก สวิงช้อนแมงกะพรุน
ประเภทอวนติดตา (Gill Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้จับสัตว์น้ำโดยการวางขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน หลักการ คือ เรียกว่า ข่าย/อวนลอย/อวนจม/กัด/อวนล้อมติด/อวนติด ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้มากที่สุด ประสิทธิภาพ: ความยาวอวน ขนาดตาอวน ความลึกอวน และอัตราย่นของเนื้ออวน ชนิด: 19 ชนิด คือ อวนลอยปลาอินทรี อวนลอยปลากะพงขาว อวนจมปู อวนจมกุ้ง อวนล้อมติดปลาทู
ประเภทอวนรุน (Push Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จับสัตว์น้ำโดยวิธีผลักด้วยแรงคน/เครื่องยนต์ ชนิด: อวนรุนใช้เรือกล อวนรุนไม่ใช้เรือกล (ระวะ/รุนเคย/ชิป/ไสกุ้ง) - อวนรุนใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ (แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย) - อวนรุนไม่ใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ไม่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ แต่ใช้แรงคนแทน(แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย) ประเภทลอบ (Traps, Pots) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ มีลักษณะเป็นโครงรูปทรงต่างๆ ใช้วัสดุหุ้มโดยรอบ และมีส่วนที่เรียกว่า งา เป็นช่องให้สัตว์น้ำเข้าภายใน 5 ชนิด: ลอบปลา ลอบหมึก ลอบกุ้ง ลอบปู ลอบหอย - ลอบปลา: ลอบปลาแบบจับปลาขนาดใหญ่ ลอบลูกปลากะรัง - ลอบหมึก: ลอบหมึกหอม ลอบหมึกกระดอง - ลอบกุ้ง/ลอบยืน/ไซนั่ง: สงขลา - ลอบปู: ลอบป่า/ไซนอน เชงเลง ลอบปูแบบพับได้ - ลอบหอย: หอยหวาน/หอยตุ๊กแก/หอยเทพรส/หอยดูด/หอยหมาก
ประเภทโป๊ะ (Pound Nets/ Set Nets) หมายถึง เครื่องมือประจำที่ ประกอบด้วยส่วนของลูกขังมีลักษณะเป็นรูปทรงต่างๆ และมีส่วนปีกเป็นทางนำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง หลักการ คือ เป็นการดักจับ 2 ชนิด: โป๊ะน้ำตื้น และโป๊ะน้ำลึก - โป๊ะน้ำตื้น หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกไม่เกินสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด(โป๊ะน้ำแห้ง/โป๊ะน้ำขอด/หลาด/มุ) - โป๊ะน้ำลึก หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกเกินกว่าสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด แบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบโป๊ะรุก/โป๊ะเผือก และแบบโป๊ะยก/โป๊ะอวน
ประเภทโพงพาง (Set Bag Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนกางยึดอยู่กับที่ทำการประมงโดยวิธีให้กระแสน้ำพัดพาสัตว์น้ำเข้าไปในถุงอวน 2 ชนิด: โพงพางประจำที่ กับ แบบเคลื่อนที่ - โพงพางประจำที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่ทำการประมงซ้ำที่เดิมเป็นประจำ และไม่เก็บหลักหรือปีกไว้เมื่อเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำ ชนิดของโพงพางในกลุ่มนี้ ได้แก่ โพงพางหลัก โพงพางหลักใต้น้ำ โพงพางปีก - โพงพางเคลื่อนที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่เคลื่อนย้ายเครื่องมืออวนและส่วนประกอบทั้งหมดออกจากจุดที่ทำการประมงหลังจากเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำทุกครั้ง บางครั้งเรียกว่า โพงพางหลักลอย/โพงเคย/ป้องเคย
ประเภทเบ็ด (Hook and Lines) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ประกอบด้วยตัวเบ็ดมีลักษณะโค้งงอเป็นขอ ส่วนใหญ่มีเงี่ยง และสายเบ็ดเป็นเชือก/วัสดุคล้ายเชือก ชนิด: เบ็ดมือ เบ็ดลาก เบ็ดราว
ประเภทเบ็ดเตล็ด หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ได้จัดไว้ในเครื่องมือ 12 ประเภท ตัวอย่าง เฮียหอยกระพง สับปะนก ขอขุดปูทะเล ฉมวก/แหลน/หลาว/ซ่อม เรือผีหลอก อวนรัง เป็นต้น
4.4 แนวคิดการทำการประมง ปัญหาการทำการประมงของประเทศไทย 1. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร - ทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดิน: กุ้งทะเล หมึก หอยลาย - ทรัพยากรปลาผิวน้ำ: ปลาปากคม ปลาทรายแดง - CPUE (Catch per unit of fishing effort):อัตราการจับ/ปริมาณการจับต่อหน่วยลงแรงประมง 2. ขาดแคลนแหล่งทำการประมง 3. ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น 4. ราคาสัตว์น้ำต่ำและไม่แน่นอน 5. ขาดแคลนแรงงาน 6. ขาดแคลนเงินทุน 7. กฎหมายเก่าและล้าสมัย - พรบ.ประมง พ.ศ.2490 - พรบ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482 - พรบ.การจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 - พรบ.เดินเรือสยาม พ.ศ.2481 - พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
การทำการประมงในอนาคต - การทำการประมงอย่างรับผิดชอบตามหลักการของ Code of Conduct - การพัฒนาเครื่องมือที่มุ่งจับสัตว์น้ำเป้าหมาย - การจดทะเบียนเรือ - การติดตาม ตรวจสอบการทำการประมง
เอกสารอ้างอิงกองประมงทะเล. 2540. คำนิยามและการจำแนกเครื่องมือประมงทะเลของไทย. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กลุ่มงานพัฒนาเรือประมง. 2546. ประวัติและวิวัฒนาการของเรือประมงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.ชุมเจตน์กาญจนเกษร.2539.อนุสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ ความหลากหลายทางชีวภาพ. กรุ.เทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลย และสิ่งแวดล้อม.ภาควิชาการจัดการประมง. 2544. คำอธิบายพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490. เอกสารประกอบวิชา 299111 ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มะลิ บุณยรัตผลิน. 2545. การจัดการประมงทะเลไทยแนวใหม่. เอกสารเผยแพร่ ฉบับที่ 1/2545. สำนักวิชาการ กรมประมง. วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์. 2539. ยุทธศาสตร์การประมงทะเลของไทย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้. 2530. อนาคตประมงไทย. ศูนย์พัฒนา- การประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ. 583 หน้า.Clark, J.R. 1927. Coastal Zone Management Handbook. New York: Lewis Publishers