Monday, February 12, 2007

พ.ร.บจัดระเบียบกิจการแพปลาพ.ศ.2496

  1. มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า "องค์การ สะพานปลา" มีวัตถุประสงค์ ดั่งต่อไปนี้
  2. (1) จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
  3. (2) จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการ แพปลา การขนส่ง และกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
  4. (3) จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
  5. (4) จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
  6. เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ให้องค์การ สะพานปลามีอำนาจรวม
  7. (1) สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่าง ๆ
  8. (2) กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ
  9. มาตรา 6 ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล
  10. มาตรา 7 ให้องค์การสะพานปลาตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร
  11. มาตรา 8 องค์การสะพานปลาเห็นสมควรจัดตั้งสะพานปลาขึ้น สำหรับท้องที่ใด เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว ก็ให้ประกาศตั้งขึ้นได้ การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้สะพานปลาอยู่ในความดูแลและดำเนินการขององค์การสะพานปลา
  12. มาตรา 9 ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน และหนี้สิน รวมทั้งบรรดา ข้อสัญญาและภาระผูกพันทั้งสิ้น อันเกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดตั้งแพปลา ของกรมการประมงโดยงบประมาณแผ่นดิน ให้แก่องค์การสะพานปลา
  13. มาตรา 10 ให้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2496 ของกรมการประมงที่เกี่ยวกับ การดำเนินการจัดตั้งแพปลา ให้แก่องค์การสะพานปลา
  14. มาตรา 11 ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคน ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการ องค์การสะพานปลา
  15. มาตรา 12 ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มี สัญชาติไทย
  16. มาตรา 13 ผู้มีลักษณะดั่งต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธาน กรรมการหรือกรรมการ คือ
  17. (1) เป็นพนักงาน หรือ
  18. (2) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การสะพานปลา หรือในกิจการ ที่กระทำให้แก่องค์การสะพานปลา ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม มาตรา 14 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและ ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ ให้รวมถึง
  19. (1) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่าง ๆ ตามความใน มาตรา 5
  20. (2) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของ คณะกรรมการ
  21. (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง และการถอดถอน พนักงาน
  22. (4) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลา และข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน
  23. (5) กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน
  24. มาตรา 15 ให้ประธานกรรมการและกรรมการอยู่ในตำแหน่ง มีกำหนดสองปี แต่อาจรับแต่งตั้งใหม่ได้
  25. มาตรา 16 ประธานกรรมการ และกรรมการ ย่อมพ้นจาก ตำแหน่งก่อนถึงวาระ เมื่อ
  26. (1) ตาย
  27. (2) ลาออก
  28. (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
  29. (4) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ ให้มีการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ หรือกรรมการเข้าแทนได้ แล้วแต่กรณี ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าแทนนี้ ย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
  30. มาตรา 17 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการ ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุมได้ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการเลือกตั้ง กันขึ้นเองเป็นประธานชั่วคราว
  31. มาตรา 18 การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาในคณะกรรมการ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้ามีเสียงเท่ากัน ให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  32. มาตรา 19 ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจเรียกเก็บเงิน ค่าบริการจากผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ไม่เกินร้อยละสามของราคาสินค้า สัตว์น้ำที่ซื้อขายกันที่สะพานปลาหรือราคาที่พนักงานประเมินราคาตลาด ในวันนั้น
  33. มาตรา 20 ให้แบ่งเงินค่าบริการที่องค์การสะพานปลา เรียกเก็บตามความใน มาตรา 19 ไว้ร้อยละยี่สิบห้าของค่าบริการ ที่เก็บได้ทั้งหมด เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมการประมงตามความใน มาตรา 5 (3) และ (4) การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินค่าบริการที่แบ่งไว้ใน วรรคก่อน ให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  34. มาตรา 21 ให้องค์การสะพานปลาจัดทำงบประมาณประจำปี แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ ให้องค์การสะพานปลาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตาม ระเบียบของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
  35. มาตรา 22 รายได้ที่องค์การสะพานปลาได้รับในปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานในองค์การสะพานปลา เงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองขยายงานและเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แล้ว เหลือเท่าใด ให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าว นอกจาก เงินสำรองที่ได้ระบุไว้ในวรรคก่อน และองค์การสะพานปลาไม่สามารถ หาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่องค์การสะพานปลาเท่าจำนวนที่ จำเป็น
  36. มาตรา 23 ทุกปี ให้คณะกรรมการตั้งผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือ หลายคนเพื่อสอบและรับรองบัญชีเป็นปี ๆ ไป แล้วนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อ เสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรีพร้อมด้วยรายงานกิจการประจำปี ซึ่งให้กล่าว ถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วและให้มีคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า ห้ามมิให้ตั้งประธานกรรมการ กรรมการ หรือพนักงานเป็น ผู้สอบบัญชี เมื่อรัฐมนตรีร้องขอ ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็น ผู้ตรวจบัญชีขององค์การสะพานปลา
  37. มาตรา 24 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แทนองค์การสะพานปลา ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แต่คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้อำนวยการ หรือพนักงานอื่นใดขององค์การสะพานปลาเป็นผู้แทนก็ได้
  38. มาตรา 25 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน ผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
  39. มาตรา 26 ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การ สะพานปลาตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดหรือ มอบหมาย
  40. มาตรา 27 ประธานกรรมการ และกรรมการย่อมได้รับ ประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  41. มาตรา 28 ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และ พนักงานอาจได้รับเงินรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

No comments: