Monday, February 5, 2007

การทำการประมง

การทำการประมง
4.1 คำนิยามที่ควรรู้จาก พรบ.การประมง พ.ศ.2490 คำนิยามด้านการทำประมงที่ควรรู้ มีดังนี้ “สัตว์น้ำ หมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือวงจรส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้รวมซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ” “ทำการประมง หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่า หรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีใดๆ “เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบอาวุธ เสา หลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง” “เรือ หมายความว่ายานพาหนะทางน้ำทุกชนิด“ “ที่จับสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขัง หรือ ไหล เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งป่าไม้และพื้นดิน ซึ่งท่วมในฤดูน้ำไม่ว่าจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์และภายในเขตน่านน้ำไทย หรือน่านน้ำอื่นใด ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่หรือมีสิทธิ์ที่จะใช้ต่อไปในการทำการประมง โดยที่น่านน้ำเหล่านั้น ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีขอบเขตตามกฎหมายท้องถิ่นหรือธรรมเนียมประเพณี หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด” “ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่บุคคลใดใช้ทำการประมงหรือทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต” “อาชญาบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประม “ผู้รับอนุญาต หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับประทานบัตร ใบอนุญาตอาชญาบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้” “เครื่องมือประจำที่ หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง” “เครื่องมือในพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อลักษณะหรือวิธีใช้ในกฎกระทรวง” “เครื่องมือนอกพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกั “สถิติการประมง หมายความว่า สถิติหรือข้อความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การทำการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” “น่านน้ำไทย หมายถึง บรรดาน่านน้ำซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศไทย” ประกอบด้วย • น่านน้ำภายใน (Internal Waters) • อ่าวประวัติศาสตร์ (Historic Bay) • ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) “น่านน้ำภายใน หมายถึง ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหลอยู่ในผืนแผ่นดินและรวมทั้งทะเลบริเวณนั้นจากฐานเส้นตรง ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง” “อ่าวประวัติศาสตร์ คือ อ่าวขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรัฐเดียว อีกทั้งรัฐนั้นได้ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ติดต่อกันมาช้านาน ว่าเป็นอาณาเขตของรัฐนั้นๆ โดยไม่มีรัฐอื่นใดคัดค้าน” “ทะเลอาณาเขต คือ ทะเลที่อยู่ถัดจากแผ่นดินของประเทศนั้น และจากน่านน้ำภายในออกไปไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล นับจากเส้นฐานตรง” “น่านน้ำอื่นใด หมายถึง น่านน้ำอื่นๆที่ไม่ใช่เขตน่านน้ำของไทย อาทิเช่น ไหล่ทวีป เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทะเลหลวง น่านน้ำตามสนธิสัญญา” “ไหล่ทวีป (Continental Shelf) คือ บริเวณใต้ทะเลรอบๆชายฝั่งต่างๆ ซึ่งจะมีความลาดเอียงทีละน้อยๆ นับแต่ภายนอกทะเลอาณาเขตออกไปจนถึงระดับน้ำลึก 200 เมตร” “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) หมายถึง บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต ของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง 200 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต” “ทะเลหลวง (High Sea) คือ ส่วนทั้งหมดของทะเลที่ไม่อยู่ในเขตทะเลอื่นใด ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ” “น่านน้ำตามสนธิสัญญา คือ น่านน้ำที่รัฐต่างๆได้ทำความตกลงให้เข้าทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้”
4.2 แหล่งทำการประมง (Fishing Ground)
การจำแนกแหล่งทำการประมง สามารถจำแนกได้ดังนี้ จำแนกตามลักษณะแหล่งน้ำ ดังนี้ 1. น้ำจืด • น้ำนิ่ง (Lentic water) ได้แก่ หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อ เป็นต้น • น้ำไหล (Lotic water) ได้แก่ แม่น้ำ คลอง เป็นต้น 2. น้ำเค็ม • ชายฝั่ง (Coastal) • ใกล้ฝั่ง (Inshore) • นอกฝั่ง (Offshore) • ทะเลลึก/ทะเลหลวง (Deep Sea/High Sea) จำแนกตามกลุ่มชาวประมง ดังนี้ 1. ประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก 2. ประมงพาณิชย์ • ในน่านน้ำไทย • นอกน่านน้ำไทย จำแนกตามชนิดสัตว์น้ำ ดังนี้ 1. ปลาผิวน้ำ (Pelagic Fish) 2. ปลาหน้าดิน (Demersal Fish)
ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งทำการประมง • ที่ตั้ง • สภาพอากาศของลมมรสุม • ความเค็มและออกซิเจน • การหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างลองติจูด 97 องศาตะวันออก และ 106 องศาตะวันออก และระหว่างแลตติจูด 5 องศาเหนือ และ 21 องศาเหนือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีด้านที่ติดทะเล 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน
แหล่งทำการประมงทะเลของประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ คือ 1) แหล่งประมงในน่านน้ำไทย - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย - แหล่งทำการประมงทางฝั่งอันดามัน 2) แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย
แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางฝั่งอ่าวไทย เป็นดังนี้ - พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร - ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด - มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร - สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย - เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด - แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้ •เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน) •เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย) •ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม •ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา •ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้ • ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท. • ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม. • ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม. - เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้ • เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระ • เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี • เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี • เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส • เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร
แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้ - พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร - เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย - แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ - ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย - เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ - มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร - ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง - มีแหล่งปะการังมาก - แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร - เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ • เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต • เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ • แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน • แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง • แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา • แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า • แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
4.3 เรือประมง
เรือประมง หมายถึง ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ครัวเรือนที่ทำประมงในรอบ 12 เดือน จำแนกดังนี้ - เรือไม่มีเครื่องยนต์ - เรือมีเครื่องยนต์นอกเรือ (เรือหางยาว) - เรือมีเครื่องยนต์ในเรือ (เรือวางท้อง)
ขนาดของเรือประมง หมายถึง ความยาวเรือประมง แต่ละลำซึ่งวัดจากหัวเรือไปจรดท้ายเรือจำแนกดังนี้ - ความยาวน้อยกว่า 14 เมตร - 14-18 เมตร - 19-25 เมตร - มากกว่า 25 เมตร
กำลังแรงม้า หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ซึ่งติดอยู่ในเรือ เป็นตัวชี้บอกประสิทธิภาพของเรือ
ระวางบรรทุกของเรือ (ตันกรอส) หมายถึง ความจุคิดเป็นตันของเนื้อที่ว่างภายในลำเรือทั้งหมด และห้องต่างๆที่อยู่บนดาดฟ้า ยกเว้น ห้องเครื่องจักร ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว และห้องบันได จำแนกขนาดเป็น - น้อยกว่า 5 ตันกรอส ? 20-29 ตันกรอส - 5-9 ตันกรอส ? 30-49 ตันกรอส - 10-14 ตันกรอส ? 50-99 ตันกรอส - 15-19 ตันกรอส ? ตั้งแต่ 100 ตันกรอส ขึ้นไป
4.3 เครื่องมือทำการประมง
เครื่องมือทำการประมง (Fishing Gears) คือ เครื่องมือที่ใช้จับหรือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรง และเครื่องมือช่วยทำการประมง (Auxillary Gears) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือช่วยให้การจับสัตว์น้ำสำเร็จลงได้ เช่น เรือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง เป็นต้น การจำแนกเครื่องมือทำการประมง สามารถแบ่งได้ดังนี้การจำแนกตามลักษณะการทำงาน (การทำประมง) คือ 1. เครื่องมือประเภทเคลื่อนที่ (Moveable fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ และห่างออกไปจากตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยแรงของกระแสลม กระแสน้ำ คน หรือเครื่องยนต์เรือ 2. เครื่องมือประเภทประจำที่ (Stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือและส่วนประกอบอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง และทำการจับสัตว์น้ำตรงจุดที่ตั้งเครื่องมือนั้นๆ ทุกครั้ง 3. เครื่องมือประเภทกึ่งประจำที่ (Semi-stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือนั้นจะถูกยึดถ่วงรั้งให้อยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจนสิ้นสุดการจับสัตว์น้ำแต่ละครั้งเสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ขึ้นเรือ เพื่อนำไปใช้ในบริเวณอื่นๆได้อีก จำแนกตามขนาดของธุรกิจ คือ 1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส 2. เครื่องมือประมงพาณิชย์ หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ประกอบกับเรือที่มีขยาดเกินกว่า 5 ตันกรอส การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ สามารถจำแนกได้เป็น 13 ประเภท คือ 1. ประเภทอวนล้อมจับ 8. ประเภทอวนรุน 2. ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก 9. ประเภทลอบ 3. ประเภทอวนลาก 10. ประเภทโป๊ะ 4. ประเภทคราด 11. ประเภทโพงพาง 5. ประเภทอวนช้อน อวนยก 12. ประเภทเบ็ด 6. ประเภทอวนครอบ 13. ประเภทเบ็ดเตล็ด 7. ประเภทอวนติด
ประเภทอวนล้อมจับ (Surrounding Nets) - อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลักการ คือ ใช้วิธีปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ ปิดด้านล่างของผืนอวน ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ ชนิด: อวนล้อมจับมีสายมาน และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน
ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก(Seine Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ปล่อยอวนกางกั้นสัตว์น้ำ แล้วทำการฉุด ลากปลายสุดของผืนอวนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเข้าหาฝั่งหรือเรือ หลักการ คือ ใช้วิธีล้อม และลากผสมกันในไทย เป็นแบบลากเข้าหาชายหาดด้วยแรงคนจับสัตว์น้ำ ที่เข้ามาในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณชายหาด ลึก 1-3 เมตร ปลากะตัก เคย ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาข้างเหลือง ชนิด:อวนทับตลิ่ง
ประเภทอวนลาก(Trawl Nets) หมายถึงเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เรือลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง หลักการ คือ จับสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณพื้นทะเลหรือเหนือพื้นทะเลชนิดสัตว์น้ำทั้งแบบอยู่รวมกัน เป็นฝูง/แพร่กระจายบริเวณกว้าง ชนิด:อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง อวนลากคู่ : อวนลากที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน ส่วนใหญ่จับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึก - อวนลากแผ่นตะเฆ่: อวนลากที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก: อวนลากแคระ/อวนลากกุ้ง ชนิดอวนที่ใช้: อวนลากปลา อวนลากกุ้ง อวนลากเคย อวนลากแมงกะพรุน - อวนลากคานถ่าง : อวนลากที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน ชนิดในประเทศไทย คือ • อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง/อวนลากข้าง/อวนลากแขก • อวนลากคานถ่างแบบลากแมงกะพรุน/อวนลากจอหนัง
ประเภทคราด (Dredges) หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะคล้ายตะแกรง ทำการประมงโดยวิธีขูด แซะ เพื่อจับสัตว์น้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน โดยใช้แรงคน/เครื่องยนต์ หลักการ คือ ส่วนใหญ่ใช้จับหอยชนิดที่ฝังตัวใต้พื้นโคลน/ทราย มีทั้งแบบใช้แรงคน และแบบใช้เรือลาก ชนิด: คราดหอยลาย คราดหอยแครง คราดหอยอื่นๆ เช่น คราดหอยเสียบ คราดหอยตลับ
ประเภทอวนช้อน/อวนยก (Lift Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ผืนอวนที่มีลักษณะและรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม/กลม จับสัตว์น้ำโดยการวางอวนทิ้งไว้ในแนวดิ่ง/แนวราบ และจะยกหรือดึงอวนขึ้นทันที่เมื่อต้องการจับสัตว์น้ำ หลักการ คือ ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น เหยื่อล่อ ซั้งล่อ แสงไฟล่อ ตัวอย่าง บาม ยอเคย จั่น/หยอง/ยอปู แร้วปู อวนช้อนปลากะตัก และไม่ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น สวิง ช้อนหมึก สวิงช้อนแมงกะพรุน
ประเภทอวนติดตา (Gill Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้จับสัตว์น้ำโดยการวางขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน หลักการ คือ เรียกว่า ข่าย/อวนลอย/อวนจม/กัด/อวนล้อมติด/อวนติด ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้มากที่สุด ประสิทธิภาพ: ความยาวอวน ขนาดตาอวน ความลึกอวน และอัตราย่นของเนื้ออวน ชนิด: 19 ชนิด คือ อวนลอยปลาอินทรี อวนลอยปลากะพงขาว อวนจมปู อวนจมกุ้ง อวนล้อมติดปลาทู
ประเภทอวนรุน (Push Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จับสัตว์น้ำโดยวิธีผลักด้วยแรงคน/เครื่องยนต์ ชนิด: อวนรุนใช้เรือกล อวนรุนไม่ใช้เรือกล (ระวะ/รุนเคย/ชิป/ไสกุ้ง) - อวนรุนใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ (แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย) - อวนรุนไม่ใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ไม่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ แต่ใช้แรงคนแทน(แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย) ประเภทลอบ (Traps, Pots) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ มีลักษณะเป็นโครงรูปทรงต่างๆ ใช้วัสดุหุ้มโดยรอบ และมีส่วนที่เรียกว่า งา เป็นช่องให้สัตว์น้ำเข้าภายใน 5 ชนิด: ลอบปลา ลอบหมึก ลอบกุ้ง ลอบปู ลอบหอย - ลอบปลา: ลอบปลาแบบจับปลาขนาดใหญ่ ลอบลูกปลากะรัง - ลอบหมึก: ลอบหมึกหอม ลอบหมึกกระดอง - ลอบกุ้ง/ลอบยืน/ไซนั่ง: สงขลา - ลอบปู: ลอบป่า/ไซนอน เชงเลง ลอบปูแบบพับได้ - ลอบหอย: หอยหวาน/หอยตุ๊กแก/หอยเทพรส/หอยดูด/หอยหมาก
ประเภทโป๊ะ (Pound Nets/ Set Nets) หมายถึง เครื่องมือประจำที่ ประกอบด้วยส่วนของลูกขังมีลักษณะเป็นรูปทรงต่างๆ และมีส่วนปีกเป็นทางนำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง หลักการ คือ เป็นการดักจับ 2 ชนิด: โป๊ะน้ำตื้น และโป๊ะน้ำลึก - โป๊ะน้ำตื้น หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกไม่เกินสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด(โป๊ะน้ำแห้ง/โป๊ะน้ำขอด/หลาด/มุ) - โป๊ะน้ำลึก หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกเกินกว่าสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด แบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบโป๊ะรุก/โป๊ะเผือก และแบบโป๊ะยก/โป๊ะอวน
ประเภทโพงพาง (Set Bag Nets) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนกางยึดอยู่กับที่ทำการประมงโดยวิธีให้กระแสน้ำพัดพาสัตว์น้ำเข้าไปในถุงอวน 2 ชนิด: โพงพางประจำที่ กับ แบบเคลื่อนที่ - โพงพางประจำที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่ทำการประมงซ้ำที่เดิมเป็นประจำ และไม่เก็บหลักหรือปีกไว้เมื่อเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำ ชนิดของโพงพางในกลุ่มนี้ ได้แก่ โพงพางหลัก โพงพางหลักใต้น้ำ โพงพางปีก - โพงพางเคลื่อนที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่เคลื่อนย้ายเครื่องมืออวนและส่วนประกอบทั้งหมดออกจากจุดที่ทำการประมงหลังจากเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำทุกครั้ง บางครั้งเรียกว่า โพงพางหลักลอย/โพงเคย/ป้องเคย
ประเภทเบ็ด (Hook and Lines) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ประกอบด้วยตัวเบ็ดมีลักษณะโค้งงอเป็นขอ ส่วนใหญ่มีเงี่ยง และสายเบ็ดเป็นเชือก/วัสดุคล้ายเชือก ชนิด: เบ็ดมือ เบ็ดลาก เบ็ดราว
ประเภทเบ็ดเตล็ด หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ได้จัดไว้ในเครื่องมือ 12 ประเภท ตัวอย่าง เฮียหอยกระพง สับปะนก ขอขุดปูทะเล ฉมวก/แหลน/หลาว/ซ่อม เรือผีหลอก อวนรัง เป็นต้น
4.4 แนวคิดการทำการประมง ปัญหาการทำการประมงของประเทศไทย 1. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร - ทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดิน: กุ้งทะเล หมึก หอยลาย - ทรัพยากรปลาผิวน้ำ: ปลาปากคม ปลาทรายแดง - CPUE (Catch per unit of fishing effort):อัตราการจับ/ปริมาณการจับต่อหน่วยลงแรงประมง 2. ขาดแคลนแหล่งทำการประมง 3. ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น 4. ราคาสัตว์น้ำต่ำและไม่แน่นอน 5. ขาดแคลนแรงงาน 6. ขาดแคลนเงินทุน 7. กฎหมายเก่าและล้าสมัย - พรบ.ประมง พ.ศ.2490 - พรบ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482 - พรบ.การจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 - พรบ.เดินเรือสยาม พ.ศ.2481 - พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
การทำการประมงในอนาคต - การทำการประมงอย่างรับผิดชอบตามหลักการของ Code of Conduct - การพัฒนาเครื่องมือที่มุ่งจับสัตว์น้ำเป้าหมาย - การจดทะเบียนเรือ - การติดตาม ตรวจสอบการทำการประมง
เอกสารอ้างอิงกองประมงทะเล. 2540. คำนิยามและการจำแนกเครื่องมือประมงทะเลของไทย. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กลุ่มงานพัฒนาเรือประมง. 2546. ประวัติและวิวัฒนาการของเรือประมงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.ชุมเจตน์กาญจนเกษร.2539.อนุสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ ความหลากหลายทางชีวภาพ. กรุ.เทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลย และสิ่งแวดล้อม.ภาควิชาการจัดการประมง. 2544. คำอธิบายพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490. เอกสารประกอบวิชา 299111 ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มะลิ บุณยรัตผลิน. 2545. การจัดการประมงทะเลไทยแนวใหม่. เอกสารเผยแพร่ ฉบับที่ 1/2545. สำนักวิชาการ กรมประมง. วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์. 2539. ยุทธศาสตร์การประมงทะเลของไทย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้. 2530. อนาคตประมงไทย. ศูนย์พัฒนา- การประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ. 583 หน้า.Clark, J.R. 1927. Coastal Zone Management Handbook. New York: Lewis Publishers

No comments: